สินเชื่อแบบไม่มีหลักประกัน กับ มีหลักประกัน ต่างกันอย่างไร
ทางเลือกในการขอสินเชื่อจากธนาคารมีทั้งแบบคนมีหลักทรัพย์ค้ำประกันและแบบคนไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ซึ่งหลายคนมักเลือกกู้เงินแบบคนไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไป เช่น
- ไม่มีหลักทรัพย์ที่สามารถนำมาค้ำประกันได้ ไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือรถก็ตาม ซึ่งเรื่องนี้เป็นสาเหตุหลักๆ ของคนส่วนใหญ่ที่ขอสินเชื่อในรูปแบบนี้ นอกจากการไม่หลักทรัพย์มาค้ำประกัน เหตุผลอีกมุม คือ หากไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามสัญญา ก็จะไม่มีหลักทรัพย์ให้ยึดทรัพย์หรือบังคับคดีได้
- ได้รับเงินเร็ว* หากสมัครใช้บริการผ่านธนาคารทางมือถือ หรือ K-PLUS สามารถรู้คำตอบว่า “อนุมัติ” หรือ “ปฎิเสธ” ได้ภายในเวลา 15 นาที* แต่หากขอสินเชื่อแบบใช้หลักทรัพย์ประเภทบ้านมาค้ำประกัน ต้องใช้เวลาดำเนินการประมาณ 3-4 สัปดาห์ เพราะต้องมีขั้นตอนการประเมินราคาหลักทรัพย์ จากนั้นมีขั้นตอนไปจำนองบ้าน ณ สำนักงานที่ดิน
- ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม* การขอสินเชื่อแบบไม่ใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน จะมีค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าอากรสแตมป์สำหรับติดสัญญาเป็นหลัก แต่หากใช้หลักทรัพย์มาค้ำประกันจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ถ้าใช้บ้านมาค้ำประกันจะมีค่าใช้จ่ายในการประเมินราคาทรัพย์สิน ค่าจดทะเบียนจำนอง 1% ของวงเงินจำนอง เช่น กู้ 1,000,000 บาท ต้องเสียค่าจำนอง 10,000 บาท และค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยบ้าน หากใช้รถมาค้ำประกัน จะมีค่าใช้จ่าย เช่น ค่าธรรมเนียมโอนรถยนต์ และค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์ (ชั้น 1,2+,2)
- เสียดอกเบี้ยถูก สำหรับสินเชื่อบ้านช่วยได้เสียดอกเบี้ยต่ำที่สุด คือ MRR+2 (9.05%) หรือ MRR+3 (10.05%) รองลงมาเป็นสินเชื่อรถช่วยได้แบบจำนำทะเบียนอัตราดอกเบี้ยอยู่ระหว่าง 11.50% ถึง14.50% และสินเชื่อเงินด่วนเสียดอกเบี้ยสูงที่สุด ตั้งแต่ 17% ถึง 25% เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น ขอยกตัวอย่างเปรียบเทียบการกู้เงินทั้ง 3 แบบดังกล่าวข้างต้น โดยขอกู้เงิน จำนวน 1,000,000 บาท ระยะเวลา 5 ปี หรือ 60 งวด รายละเอียดตามตารางด้านล่าง
ข้อดีของการกู้เงินแบบใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน*
สำหรับคนที่ขอสินเชื่อโดยใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน เช่น รถหรือบ้าน แต่กำลังตัดสินใจว่าจะนำมาค้ำประกันดีหรือไม่ ดังนั้น จึงอยากชวนคนที่กำลังคิดจะขอสินเชื่อโดยใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันว่ามีข้อดีอะไรบ้าง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจ ตัวอย่างเช่น
หมายเหตุ เป็นการคำนวณแบบปัดเศษสตางค์ และยกตัวอย่างให้ดูบางช่วงเวลา
จากตาราง พบว่า หากผู้ขอสินเชื่อบ้านช่วยได้ เสียดอกเบี้ยรวม 242,164 บาท ถ้าขอสินเชื่อรถช่วยได้ เสียดอกเบี้ยรวม 340,423 บาท และถ้าขอสินเชื่อเงินด่วน เสียดอกเบี้ยรวม 635,076 บาท หากพิจารณาจากส่วนต่างดอกเบี้ยที่ต้องเสียจะเห็นว่าสินเชื่อบ้านช่วยได้เสียดอกเบี้ยน้อยกว่าสินเชื่อเงินด่วน 392,912 บาท ซึ่งเป็นส่วนต่างดอกเบี้ยที่ต่างกันมาก
- ได้วงเงินกู้สูง ธนาคารดูจากราคาประเมินหลักทรัพย์และความสามารถในการผ่อนชำระหนี้เป็นหลัก โดยสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อรถช่วยได้ไม่ได้กำหนดวงเงินกู้สูงสุดไว้ หากเป็นสินเชื่อบ้านช่วยได้กำหนดวงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 20 ล้านบาท แต่ถ้าเป็นสินเชื่อเงินด่วนกำหนดวงเงินสูงสุดไม่เกิน 1,500,000 บาท โดยดูจากความสามารถชำระหนี้เพียงอย่างเดียว
- ผ่อนได้นานและยอดผ่อนต่อเดือนต่ำ หากเป็นสินเชื่อบ้านช่วยได้ผ่อนได้นานสูงสุด 30 ปี ส่วนสินเชื่อรถช่วยได้ผ่อนได้นานสูงสุด 6 ปี ทำให้ยอดผ่อนต่อเดือนน้อยลง ไม่เป็นภาระที่หนักเกินไป ซึ่งต่างจากการขอสินเชื่อเงินด่วนผ่อนได้สูงสุดเพียง 5 ปี สำหรับเงินกู้ทุกประเภท เมื่อผ่อนไปได้สักระยะแล้วมีเงินเหลือเพียงพอ สามารถผ่อนเพิ่มหรือโปะได้ตลอดระยะเวลาที่กู้ เพื่อช่วยลดภาระดอกเบี้ยได้ และทำให้หมดหนี้เร็วขึ้น
ข้อควรรู้ : สินเชื่อบ้านช่วยได้ สามารถใช้หลักทรัพย์ของบุคคลในครอบครัวได้ เช่น พ่อ แม่ บุตร คู่สมรสได้ทั้งจดทะเบียนสมรสหรือไม่จดทะเบียนสมรส โดยดูจากเอกสารทางราชการเป็นหลัก เช่น ทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส ใบสูติบัตร (ใบเกิด) หรือถ้าเป็นการสมรสไม่จดทะเบียน ดูจากการ์ดเชิญงานแต่งงาน รูปถ่ายงานแต่งงาน เป็นต้น
ผู้ขอสินเชื่อที่มีหลักทรัพย์ปลอดภาระไม่ว่าจะเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือเป็นของบุคคลในครอบครัว แนะนำให้นำมาใช้ค้ำประกันการขอสินเชื่อ ข้อดีคือทำให้เสียดอกเบี้ยถูกกว่าและได้วงเงินกู้ที่สูงกว่าการขอสินเชื่อที่ไม่ใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันช่วยให้ลดภาระดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายได้เป็นจำนวนมาก อีกทั้ง สามารถผ่อนได้นานถึง 30 ปี ทำให้มียอดผ่อนต่อเดือนต่ำไม่เป็นภาระที่หนักจนเกินไป หากกู้ไปสักระยะมีเงินเหลือเพียงพอสามารถผ่อนเพิ่มหรือโปะได้ตลอดเวลา
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น